การเคลื่อนไหวทางสังคม ของ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน

สภาปฏิวัติแห่งชาติ

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เจ้าของทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย ที่ยืนอยู่คนละด้านกับแนวทางชนบทล้อมเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและได้มีส่วนร่วมในสภาปฏิวัติแห่งชาติ ซึ่งต่อถูกจับกุมด้วยข้อหาทำลายความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมกับพวกรวม 14 คน

การประท้วงคมชัดลึก

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนขึ้นเวทีม็อบแท็กซี่ที่ขนส่งหมอชิต โดยการชักชวนของไกรวัลย์ เกษมศิลป์ จนกลายเป็นแกนนำกลุ่มสมาพันธ์พิทักษ์ประชาธิปไตย[12] ภายหลังย้ายสถานที่ชุมนุมจากหมอชิต มาสมทบกับกลุ่มของนายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการสมัชชาคนจน[13]

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มคาราวานคนจน ที่เป็นกลุ่มที่นำหนังสือพิมพ์มาแสดงเป็นกลุ่มแรก บนเวทีปราศรัยสวนจตุจักร จำนวนนับพันคน นำโดย นายคำตา แคนบุญจันทร์ นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายประยูร ครองยศ นายทองเจือ ชาติกิจเจริญ เป็นต้น[14] เคลื่อนขบวนจากสวนจตุจักร มาชุมนุมหน้าอาคารอินเตอร์ลิงก์ทาวเวอร์ เพื่อประท้วงคมชัดลึก จากการนำเสนอข่าวประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกล่าวในทำนองว่า หากผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของพระราชกฤษฎีกาแล้ว จะให้ใครรับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นจำนวนมาก ในหลายพื้นที่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงนิสิต นักศึกษา ได้ยกย่องและให้กำลังใจในการแสดงความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และประณามการกระทำของกลุ่มมวลชนบางกลุ่มที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ในการคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชน[15]

ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก นายคำตา แคนบุญจันทร์ สมัชชาเกษตรรายย่อย , นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ เลขาธิการคาราวานคนจน , นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน , นายธนวิชญ์ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา แกนนำคาราวานคนจน , นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แนวร่วม นปช. และ นายสำเริง อดิษะ แกนนำคาราวานคนจน เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย, กักขัง หน่วงเหนี่ยว และ พรบ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดล้อมอาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์[16]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549

ภายหลังเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ชูพงศ์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[17] ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งวิทยุชุมชนคนรู้ใจ คลื่น 87.75 ร่วมกับไกรวัลย์ เกษมศิลป์[5] และยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ ร่วมกับชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับชินวัฒน์ หาบุญพาด จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[13] ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ทักษิณ ชินวัตร ไดโทรศัพท์มายังสถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ ในรายการจิ้งจกคาบข่าว[18] ซึ่งได้นำคำสัมภาษณ์ของทักษิณ ชินวัตรในรายการ ไปเผยแพร่ในเว็บ www.chupong.com โดยบนเว็บไซต์ได้จัดทำแบบฟอร์มให้ประชาชนร่วมลงชื่อเป็นมติปวงชนชาวไทย โดยเรียกร้อง 4 ข้อ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตััง ไม่ยินยอมให้มีการทำรัฐประหาร และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ จัดการเลือกตั้งภายในปี 2550[18]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนมีชื่อในกลุ่มผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกออกหมายจับ ในฐานะผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวคดีมาตรา 112 ซึ่งปัจจุบันชูพงศ์ ถี่ถ้วน ยังคงพักอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และจัดรายการออนไลน์ผ่านโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง ผ่านสถานี ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ[19] และในปี พ.ศ. 2560 ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ได้ก่อตั้งพรรคไทยก้าวหน้า ซึ่งมีอุดมการณ์พรรคคือ การเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย และมีหลักการปกครอง 5 ประการ คือ อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน เสรีภาพ เสมอภาค ยึดหลักกฎหมาย และการเลือกตั้ง[20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชูพงศ์ ถี่ถ้วน http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/656601 http://www.chupong.com http://prachatai.com/journal/2014/06/54180 http://www.thairath.co.th/content/region/50096 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/337775 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/467802 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/474130 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0011721... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/...